Update : April 2019
ทุกวันนี้หากจะพูดว่าธุรกิจในทุกวงการจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนไปสู่การเป็น E-Commerce ก็น่าจะไม่ใช่การกล่าวเกินจริงอีกต่อไป โดยในปัจจุบัน(สิ้นปี 2017) ตลาด E-Commerce ของไทยมีมูลค่ารวมกว่า 2.81 ล้านล้านบาท และมีอัตราการเติบโตที่สูงมาก หากนับจากปี 2013-2017 ตลาด E-Commerce มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึงปีละ 14% ซึ่งสูงกว่าการเติบโตของ GDP ไทย ถึง 4 เท่า !!! และยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้หนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจร้านค้า Online ทุกเจ้าก็คือ “ระบบการชำระเงิน” ซึ่งประกอบด้วย 3 รูปแบบหลัก ได้แก่
- On Delivery คือ การที่ผู้ซื้อจ่ายเงินเมื่อรับสินค้า ซึ่งผู้ซื้อส่วนหนึ่งที่ยังไม่ไว้วางใจช่องทางการชำระเงิน Online และ ผู้ที่ยังไม่ไว้วางใจว่าเมื่อจ่ายเงินไปแล้วจะได้ของถูกต้องตามที่ดูไว้ ก็ยังคงสะดวกช่องทางนี้อยู่
- Real-Time คือ การชำระเงินทันทีที่การซื้อเกิดขึ้น เช่น การโอนเงิน การชำระบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต การหักบัญชีอัตโนมัติ (Direct Debit) รวมถึงการชำระเงินด้วย E-money รูปแบบต่างๆ ผ่าน Payment Gateway
- Non Real-Time คือ การที่เวลาผู้ซื้อทำการซื้อสินค้าแล้วแต่ยังไม่ได้ชำระเงินทันที แต่จะได้รับ code หรือเบอร์บัญชี เพื่อไปชำระกับธนาคารหรือช่องทางอื่นที่กำหนดไว้ พอผู้ซื้อชำระเงินเสร็จ ข้อมูลก็จะวิ่งไปหาผู้ขาย เมื่อผู้ขายทราบว่าได้รับชำระเงินแล้วก็จะส่งของให้ ในส่วนนี้ก็จะคล้ายลักษณะของ Bill Payment นั่นเอง
ปัจจุบันจากผลสำรวจพบว่ากว่า 57% ของคนในเอเชียนั้นยังคงใช้เงินสดในการใช้จ่ายเป็นหลัก และในประเทศไทยนั้นพบว่ากว่า 70% ของคนไทยยังมีการใช้จ่ายในรูปแบบเงินสด คือเป็นการชำระเงินแบบ On Delivery หรือ Non Real-Time อยู่ ซึ่งถือว่ายังล้าหลังกว่าค่าเฉลี่ยในเอเชียอยู่มาก
แต่…ตัวเลขทั้งหมดนี้กำลังจะเปลี่ยนไป ดังเช่นในประเทศจีน ซึ่งอดีตเคยใช้เงินสดเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันมีเพียงแค่ 25% ของชาวจีนเท่านั้นที่ยังใช้เงินสดอยู่ เนื่องจากความนิยมในการใช้ E-wallet อย่าง Alipay หรือ WeChat มีสัดส่วนที่สูงมาก ทำให้ร้านค้าออนไลน์ต่างๆจะต้องพิจารณาเพิ่มช่องทางการชำระเงินที่ตรงกับกระเป๋าของนักช้อปเหล่านี้ ซึ่ง 7-11 ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ได้เริ่มเปิดรับการชำระเงินด้วย Alipay ไปเป็นที่เรียบร้อยในปี 2016 เพื่อรองรับความต้องการของผู้ซื้อกลุ่มนี้
ซึ่ง Alipay ก็เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของระบบการชำระเงินออนไลน์ โดยการจะเลือกว่าร้านค้าของเราควรมีระบบการชำระเงินแบบไหนบ้างควรพิจารณาประเด็นหลักๆ ดังนี้
- “ความสะดวก” การชำระเงินด้วยบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ถือว่าสะดวกกับลูกค้าที่สุดในแง่ของความง่าย แต่ทางร้านค้าก็จะต้อง implement ระบบ Payment Gateway ต่างๆเพิ่มเติมให้ตรงกับกลุ่มลูกค้า
- “ความปลอดภัย” ตอนนี้ทุกคนให้ความสำคัญมากกับเรื่อง Internet Security และ Personal Data โดยเฉพาะในฝั่งของผู้ซื้อ ส่วนทางผู้ขายก็อยากได้ข้อมูลการใช้งานของลูกค้าเพื่อนำไปทำ analyses ในลักษณะที่เราเรียกว่า Big Data ดังนั้นการเลือกตัวกลางที่มีความสามารถในการดูแลข้อมูลธุรกรรมการซื้อขายให้มีความปลอดภัย และมีการสรุปข้อมูลให้กับผู้ขาย จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
- “ความมั่นใจ” ว่าผู้ซื้อจะได้รับสินค้าอย่างถูกต้องตามที่ตนสั่ง และผู้ขายจะได้รับชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด ถ้าหากมีปัญหาผิดพลาดใครจะเป็นคนเรียกคืนเงินหรือสินค้าให้ การชำระด้วย Card Payment หรือ การใช้ตัวกลาง (3rd Party Payment Gateway) เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีความมั่นใจมากขึ้น
- “ค่าธรรมเนียม” ซึ่งจะแตกต่างไปตามช่องทางการชำระ และผู้ให้บริการ แม้จะเป็นตัวเงินที่ไม่มากแต่ก็ต้องพิจารณาให้ดี โดยเฉพาะธุรกิจที่มี Margin ต่ำ โดยค่าธรรมเนียมนี้บางร้านค้าก็รับไว้เอง หรือ อาจมีการผลักภาระไปให้ผู้ซื้อผ่านราคาสินค้าที่ขาย
- “ลูกค้า” ต้องพิจารณาช่องทางให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของ เช่น หากลูกค้าเราคนต่างชาติจากทั่วโลก การรับชำระ Paypal, VISA, MasterCard หรือ E-wallet อื่นๆก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าร้านค้าของเราไม่มีเท่ากับกำลังจำกัดลูกค้าให้เหลือแต่เฉพาะลูกค้าภายในประเทศเท่านั้น
- “จุดชำระเงิน” การทำให้การชำระเงินเกิดขึ้นแบบ real-time จะทำให้เกิดการตัดสินใจของลูกค้า ณ จุดขายได้เลย ถ้าลูกค้าตัดสินใจซื้อ สามารถจ่ายเงินที่หน้าเว็บของร้านค้าได้เลย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากเราทำให้ลูกค้าต้องมีขั้นตอนในการชำระเงินที่มากเกินไป อาจทำให้ลูกค้าเกิดเปลี่ยนใจไม่ซื้อสินค้าของเราได้
- “การรับเงินค่าขาย” หากเป็นช่องทางชำระเงินที่เป็น E-Money ส่วนใหญ่ผู้ขายจะยังไม่ได้รับเงินเข้าไปยังบัญชีธนาคารในทันที ซึ่งหากผู้ขายไม่ได้มีกระแสเงินสภาพคล่องที่มากพอ ประเด็นนี้อาจเป็นประเด็นที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ต้องพิจารณา
Payment gateway ที่ Plaimanas แนะนำมีดังนี้
เรามีสรุปคร่าวๆ โดยคุณ คุณสรวงพิเชฏฐ์ หลายชูไทย AFPT ที่ปรึกษาการเงินส่วนบุคคล / CEO บริษัท Plant consultant – Partner เรื่อง Ecommerce ของปลายมนัส ดังนี้ครับ
นอกเหนือจากนี้ ยังมี Payment อื่นๆอีกจำนวนมากที่ลูกค้าสามารถเลือกใช้ได้
บางเจ้าที่ไม่ได้กล่าวถึง เพราะทางทีมเคยประสบปัญหา เช่น ความปลอดภัย / การบริการหลังจากใช้ไปแล้วไม่ค่อยดี จึงไม่ขอแนะนำลงไปในลิสต์ที่กล่าวมา
หากลูกค้าต้องการใช้ตัวอื่นสามารถสอบถามก่อนได้ หรือถ้ามีความต้องการที่จะใช้จริงๆ ก็สามารถแจ้งได้เช่นกัน
**สุดท้าย ทีมของเรายังติดตั้งระบบรับเงินที่ไม่ใช่ Payment Gateway อื่นๆอีก ดังนี้
โอนเงินโดยตรงกับธนาคาร
ระบบยอดนิยมของคนไทย หากคุณมี Target group ที่เป็นคนไทย และสินค้าราคาไม่เกิน 3,000 โดยประมาณ ที่ลูกค้าจะตัดสินใจโอนได้ไม่ยาก การโอนเงินจะค่อนข้างตอบโจทย์ที่ลูกค้าจะเลือกซื้อของกับคุณ
ระยะเวลาการติดตั้ง : Plaimanas สามารถติดตั้งได้ตั้งแต่เว็บไซต์ เสร็จโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
อัตราค่าสมัคร : ฟรี
อัตราค่าบริการ : ฟรี
สิ่งที่คุณต้องทำ : มีบัญชีธนาคารที่จะใช้รับเงิน (สามารถมีได้มากกว่า 1 บัญชี)
ข้อควรระวัง :
– การแจ้งโอนเงินจากมิจฉาชีพ ทั้งๆที่ไม่ได้โอนเงินเข้ามา * ควรเชคกับบัญชีธนาคารทุกครั้งก่อนส่งของให้ลูกค้า
แนะนำให้สมัคร SMS alert เวลาที่ลูกค้าโอนเงินเข้ามาแล้ว คุณจะได้ SMS จากธนาคาร เป็นหนึ่งวิธีป้องกันการถูกโกงได้
– ผู้ดูแลเว็บไซต์จะมีความลำบากในการเช็คยอดเงิน ไม่เหมือนกับการทำ payment gateway ที่เงินเข้าทันที ทำให้เพิ่มขั้นตอนการทำงานไปอีก
ชำระเงินเก็บเงินปลายทาง
หากคุณมีทีมงานส่งของเยอะ และต้องการแสดงความจริงใจมากๆ กับผู้ชำระเงิน แต่คุณต้องเสียต้นทุนสูงมาก เพราะระบบ ecommerce แทบจะหมดความหมายไปเลย จะกลายเป็นระบบ manual แทน
ระยะเวลาการติดตั้ง : Plaimanas สามารถติดตั้งได้ตั้งแต่เว็บไซต์ เสร็จโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
อัตราค่าสมัคร : ฟรี
อัตราค่าบริการ : ฟรี
สิ่งที่คุณต้องทำ : มีพนักงานส่งของที่ไว้ใจได้ และมีทีมที่จะเช็คจำนวนสินค้า
ข้อควรระวัง :
– การถูกพนักงานลักทรัพย์ในกรณีที่สินค้าราคาแพง
– หากไปส่งของที่บ้านผู้ชำระเงิน แล้วติดต่อไม่ได้ อาจจะต้องวนไปหลายเที่ยว ทำให้เสียค่าขนส่งจำนวนมาก
Payment gateway ที่แนะนำไปทั้งหมดนี้ ถูกพัฒนาในทุกๆวัน ดังนั้นข้อมูลที่เขียนไว้ด้านบน ทางทีมของเรา
จะพยายามอัพเดทให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นล่าสุด เพื่อให้คุณมองเห็นภาพรวม และเลือกใช้ช่องทางชำระเงินได้ตามที่ต้องการ
แต่อย่างไรก็ตาม การไปหาข้อมูลจากผู้ให้บริการโดยตรงจะถูกต้องกว่า และคุณยังสามารถต่อรองกับฝ่ายขาย
ของผู้ให้บริการได้ เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่ถูกใจทั้งสองฝ่ายครับ